กฎหมายน่ารู้ : ลูกจ้างต้องรู้สิทธิ – นายจ้างต้องจ่าย !! เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างและไม่มีความผิด มีสิทธิรับเงินชดเชยจากนายจ้างอย่างไร?

กฎหมายน่ารู้ : Volume 35 ลูกจ้างต้องรู้สิทธิ – นายจ้างต้องจ่าย !!
เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างและไม่มีความผิด มีสิทธิรับเงินชดเชยจากนายจ้างอย่างไร?

ลูกจ้างบางคนอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยหรือเงินชดเชยจากนายจ้าง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นค่าชดเชยที่คำนวณจากอายุงานของลูกจ้างเอง ดังนี้
• ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
• ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
• ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ระยะเวลาไม่ถึง 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
• ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
• ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

นอกจากค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับแล้ว ยังมี ค่าชดเชยพิเศษ ที่จะได้รับในกรณีพิเศษต่างๆ ดังนี้
1.กรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้งที่สถานที่อื่น ที่มีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว
2.กรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะปรับปรุงหน่วยงานหรือการบริการ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

แต่ก็ไม่ใช่ทุกกรณีที่ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย เช่น กรณีลาออกเองหรือกระทำความผิดร้ายแรงต่อนายจ้าง

สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ลูกจ้างควรศึกษาเป็นความรู้ไว้นะครับ!! #สำนักงานกิจการยุติธรรม #พรบ #คุ้มครองแรงงาน #วันแรงงาน #นายจ้าง #ลูกจ้าง #justiceinfographic #เลิกจ้าง#กฎหมายไม่รู้ไม่ได้

ที่มา : พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/A/008/1.PDF

Message us