การตกมัน (musth) เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ และสรีรวิทยาของช้าง ทำให้พฤติกรรมของช้างเปลี่ยนไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง
สามารถเกิดขึ้นได้กับช้างช่วงวัยเจริญพันธุ์ ทั้งตัวผู้และตัวเมีย อายุระหว่าง 16-60 ปี แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับช้างตัวผู้มากกว่า ช้างตัวเมียเกิดขึ้นได้แต่น้อยและไม่รุนแรง
ในระยะเริ่มแรกของการตกมัน ต่อมซึ่งอยู่ระหว่างรูหูกับตา (temporal glands) จะค่อย ๆ บวมขยายขึ้น ต่อมาจะมีน้ำมันที่มีกลิ่นฉุน เหม็นสาบรุนแรงไหลเยิ้มออกมาจากรูเปิดของต่อมดังกล่าวเปื้อนบริเวณแก้ม และไหลเข้าปาก
ช่วงตกมันช้างตัวผู้จะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นก้าวร้าว ดุร้าย มีอาการกระสับกระส่าย ไม่อยู่นิ่ง ไม่เชื่อฟังควาญ หรือคนเลี้ยงจนทำลายสิ่งของที่ขวางหน้า ทำร้ายคน หรือแม้แต่ช้างด้วยกัน
-ส่วนช้างตัวเมียนิสัยจะไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แสดงอาการเกเร ดุร้าย แต่จะมีอาการเซื่องซึม
-ช้างป่ามักตกมันในช่วงหน้าหนาว ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากช้างได้กินอาหารอย่างสมบูรณ์ และมีคุณค่าอาหารสูงในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะ เป็นช่วงที่หญ้าอ่อนมีโปรตีนสูง หน่อไม้มีอยู่มากมายในป่า และแหล่งน้ำมีกระจายอยู่ทั่วไป
-ช้างบ้าน จะเกิดขึ้นหลังจาก ช้างไม่ต้องทำงานหนัก และร่างกายได้รับการบำรุงรเลี้ยงดูจนอ้วนท้วมสมบูรณ์ อาการตกมันจะเกิดขึ้นทุกปี ปีละครั้งหรือสองถึงสามครั้ง แต่ระครั้งกินเวลาไม่เท่ากัน จะค่อย ๆ หายไปเอง
ด้วยความปราถนาดีจาก..งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลเมืองปรกฟ้า
